อาณาจักรโมเนอรา


อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)
         สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรมอเนอรา คือ สิ่งมีชีวิตที่มีเซลล์แบบโพรคาริโอตโอต (prokaryotic cell) คือ  n ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเครียส

หุ้มสารพันธุกรรม ไม่มีออร์แกเนลที่มีเมมเบรนหุ้ม ไม่มีโปรตีนฮิสโทน (histone)ที่ DNA(สารพันธุกรรม) และผนังเซลล์เป็นสารพวกเพปทิโดไกลแคน(peptidoglycan) ซึ่งเป็นสารจำพวกคาร์โบไฮเดรตและกรดอะมิโนไม่เป็นเซลล์ลูโลสอย่างในสาหร่ายและพืช อาณาจักรมอเนอราแบ่งออกเป็น2ไฟลัม คือ

1.ไฟลัมชิโซไมโคไฟตา(phylumSchizomykophyta)

   ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าแบคทีเรีย(bacteria)มีลักษณะสำคัญดังนี้
1.ขนาดแบคทีเรียมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ1-5ไมโครเมตรหรือ 0.001-0.00มิลลิเมตร
2.รูปร่างของแบคทีเรียมี3ลักษณะคือ
    2.1พวกรูปร่างกลมเรียกว่าคอกคัส(coccus)ซึ่งอาจเป็นทรงกลมรูปไข่หรือยาวรีหรืออาจพบในลักษณะกลมแบนเมื่อเวลล์แบ่งตัว เซลล์ที่ได้ใหม่ยังคงติดอยู่กับเซลล์เก่าไม่แยกออกจึงทำให้เกิดการเรียงตัวเป็นหลายแบบ คือ
-เป็นคู่ เรียกว่าไดโพลคอกไคdiplococi
-เป็นสายเรียกว่าสเตรปโตคอกไค streptococci
-เป็นรูปสี่เหลี่ยมติดกันสี่เซลล์ เรียกว่า เทแทรด tetrad
-เป็นรูปลูกบาศก์แปดเซลล์ เรียกว่า ซาร์นินา sarcina
-เป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น grape-like clusters เรียกว่า สเตไฟโลคอกไค staphylococci
    2.2พวกรูปร่างแท่งรียาว เรียกว่า บาซิลัส bacillus บางชนิดอาจมีรูปร่างเป็นแท่งสั้น ปลายมน เรียกว่า พวกคอกโคบาซิลัส coccobacillus เช่น เชื้อโรค แอนแทรคซ์ bacillus acthrasis
    2.3.รูปร่างเกลียวเรียกว่าสไปริลลัมspirillum เช่น เชื้อโรคซิฟิลิสTreponima palidum
3.ประโยชน์ของแบคทีเรีย
   3.1ย่อยสลายสิ่งมีชีวิตให้เน่าเปื่อยผุพังเป็นอาหารของพืช
   3.2เป็นตัวการสำคัญในการก่อให้เกิดวัฏจักรของสาร
   3.3สกัดสารพวกยาปฏิชีวนะ เช่น สเตรปมัยซิน streptomycin ซึ่งสกัด จาก streptomyces griseus
   3.4ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการหมัก เช่น การหมักนมเปรี้ยว การหมักน้ำส้มสายชู
   3.5ไรโซเบียม rhizobium sp. เป็นแบคทีเรียในปมรากถั่วที่ช่วยเพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่พืช
   3.6แบคทีเรียหลายชนิดใช้ในการศึกษาทางพันธุกรรม เพราะแบคทีเรียเลี้ยงง่ายและมีวงจรชีวิตสั้น สืบพันธุ์ได้เร็วจึงเหมาะในการนำมาใช้
   3.7ใช้ผลิตสารต่างๆ เช่น อินซูลิน วัคซีนและผลิตเซลล์แบคทีเรียที่มีโปรตีนสูง
4.โทษของแบคทีเรีย
  4.1ผลิตสารพิษที่เป็นอันตราย เช่น
1.สแตไฟโลคอกคัส straphylococcus สารพิษเป็นแบบเอกโซทอกซิน exotoxin โดยผลิตออกมาอยู่ในอาหารทำให้เกิดท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศรีษะ ปวดท้อง เป็นอย่างมาก แบคทีเรีย พวกนี้พบได้ทั่วไปตามผิวหนัง ลำคอ จมูก ทำให้เกิดเป็นสิวและเป็นหนอง ชอบอากาศที่อบอุ่นและสภาพความชื้นสูงทอกซินของบคทีเรียนี้ทนต่อสภาพความร้อนได้ดีดังนั้นการรรับประทานอาหารที่ทำไว้นานๆจึงเสี่ยงต่อแบคทีเรียชนิดนี้มาก

2.ซาลโมเนลลา salmonella เป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ และติดระหว่างคนกับสัตว์ได้ แบคทีเรียชนิดนี้ทนสภาพความเป็นกฎได้ดีแต่ไม่ทนความร้อนต่ำโดยอุณหภูมิขั้นพาสเจอร์ไรส์ก็ฆ่าซาลโมเนลลาได้ และอุณหภูมิตู้เย็นก้สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตได้อาการของทอกซินของซาลโมเนลลา คือ ปวดหัวศีรษะคลื่นไส้อาเจียนปวดท้องและท้องเสียอย่างรุนแรง

3.สเตรปคอกคัส streptococcus ปะปนกับอาหาร ความร้อนสามารถทำลายแบคทีเรียชนิดนี้ได้แต่ต้องสูงกว่าขั้นพาสเจอร์ไรส์พิษของมันทำให้คลื่นไส้อาเจียนและท้องเสีย ซึ่งคล้ายๆกับพวกซาลโมเนลลา

  3.1ทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น
อหิวาตกโรค เกิดจากเชื้อ Vibrio cholerae
วัณโรค เกิดจากเชื้อ Mycobacterium tuberculosis
ซิฟิลิส เกิดจากเชื้อ treponema pallidum
ไทฟอยด์ เกิดจากเชื้อ Salmonella typhosa
คอตีบ เกิดจากเชื้อ corynbacterium diptheriae
บิดท้องร่วง เกิดจากเชื้อ shigella dysentery
บาดทะยัก เกิดจากเชื้อ clostridium tetani



2.ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)
    ได้แก่สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน 
(blue-greenalgae) ซึ่งมีสมาชิกประมาณ 150สปีชีส์พบได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็มที่ชื้นแฉะโดยเกาะอยู่กับวัตถุหรือก้อนหินที่อยู่ในน้ำ ในตำราสมัยใหม่อาจใช้คำ แบคทีเรียสีเขียวแกมน้ำเงิน(blue-green bacteria หรือ cyanobacteria)แทนคำว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน ทั้งนี้ ก็เนื่องจากมีเวลล์ป็นแบบโพรคาริโอต และมีผนังเซลล์เป็นพวกเพปทิโดไกลแคน เช่นเดียวกับเซลล์ของแบคทีเรีย จึงเชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับแบคทีเรียมากกว่าสาหร่าย จึงเรียกว่า แบคทีเรียสีเขียวแกมน้ำเงิน ในที่นี้จะใช้คำว่าสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินเพื่อสอดคล้องกับหนังสือของ สสวท. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีลักษณะสำคัญดังนี้
1.เซลล์เป็นแบบโพรคาริโอต ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
2.ภายในเซลล์ไม่มีเม็ดคลอโรพลาสต์ มีแต่คลอโรฟีลล์ เอ แคโรทีน(carotene) แซนโทฟิลล์ (xanthophy11) ไฟโคอิริทริน(phycoerythrin) ซึ่งเป็นสารสีแดง ไฟโคไซยานิน(phycocyanin)ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงินจึงทำให้สาหร่ายชนิดนี้เป็นสีเขียวแกมน้ำเงิน
3.ผนังเซลล์เป็นสารพวกเพปทิโดไกลแคน คือ มีพอลิแซคคาไรด์เกาะอยู่กับเพปไทด์ ผนังเซลล์มักถูกหุ้มด้วยเมือกซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้นทำให้ลื่น
4.อาหารสะสมเป็นสารพวกคาร์โบไฮเดรต คือ ไกลโคเจน (glycogen) และมีชื่อเฉพาะว่าไซยาโนไฟเซียน สตอร์ช (cyanophysean starch)
5.ไม่มีแฟลเจลลา จึงเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้
6.การสืบพันธุ์มีเฉพาะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเท่านั้น ได้แก่
 - ในพวกที่มีเซลล์เดียวจะมีการแบ่งเซลล์จาก1เป็น2(binary fission)
 -ในพวกที่อยู่เป็นสายอาจเกิดจากการขาดหรือหักออกของสาย(fragmentation)เป็นสายสั้นๆแต่ละสายนี้ก็สามารถเจริญเป็นสายของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่สมบูรณ์ต่อไป
 -ในพวกเป็นสายอาจมีการสร้างเซลล์พิเศษที่เรียกว่า อะคินีต(akinete) ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีผนังหนามีอาหารสะสมอยู่ภายในเซลล์มากและทนทานสภาพต่างๆได้ดีเมื่ออะคินีตพบสภาพ- แวดล้อมที่เหมาะสมก็สามารถเจริญขึ้นเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินได้ต่อไป
7.สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีหลายชนิด เช่น
   7.1 พวกที่เป็นเซลล์เดี่ยวหรือกลุ่ม เช่น ครูอคอกคัส(Chroococcus) แอนาซีสทีส (Anacystis)
   7.2 เซลล์ที่จัดเรียงเป็นสาย เช่น แอนาบีนา (Anabaena) นอสตอก (Nostoc) และออสซิลลาทอเรีย (Oscillatoria)
8.ประโยชน์ของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน คือ
   8.1 เป็นผู้ผลิตอาหาร และแก๊สออกซิเจนให้แก่ระบบนิเวศในแหล่งน้ำ
   8.2 สาหร่ายสไปรูไลนาหรือสาหร่ายเกลียวทอง เป็นสาหร่ายที่มีโปรตีนสูงมากถึง 55-65% ของน้ำหนักแห้งจึงสามารถผลิตเป็นอุตสาหกรรม อาหารเสริมของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้
   8.3 สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินหลายชนิด เช่น นอสตอก แอนาบีนา ออสซิลลาทอเลียสามารถตรึงไนโตรเจนได้ ทำให้เพิ่มปุ๋ยไนโตรเจนในดินและเป็นการเพิ่มผลผลิตแต่ลค่าใช้จ่าย ให้แก่เกษตรกรทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เช่น การเลี้ยงแหนแดง (Azolla) ซึ่งแอนาบีนาอยู่ในช่องว่างกลางใบไปพร้อมๆกับการปลูกข้าวทำให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและลดจำนวนการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนลงไปได้มาก ในปัจจุบันจึงมีการเลี้ยงสาหร่ายเหล่านี้เพื่อผลิตออกมาเป็นปุ๋ยชีวภาพ เพื่อให้เกษตรกรใช้ใส่ในนาข้าว เพื่อเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ต้นข้าว





อ้างอิงจาก:http://cms574.bps.in.th/group12/kingdom-monera

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักรคือ     1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera)   2. อาณาจักรโพรทิสตา (Kingdom Protis...